PNG-ตงเป่ย

ขาชา อ่อนแรง สัญญาณโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมและเกิดการฉีกขาด จึงทำให้ส่วนของไส้หมอนรองกระดูกเคลื่อนถอยหลังมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า ซึ่งอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย 

อาการของโรคที่พบบ่อย

🔹ปวดหลังบริเวณเอว สะโพก หรือก้นกบ

🔹ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า โดยสามารถร้าวลงขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการมากขึ้นเวลาไอหรือจาม

🔹มีอาการชาปลายเท้า ส่วนมากมักพบบริเวณง่ามนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้า

🔹เดินระยะทางไกลไม่ได้ มักมีอาการปวดหรือเป็นตะคริวร่วมด้วยจนต้องหยุดพัก

🔹 ถ้าอาการรุนแรง อาจมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดกข้อเท้าไม่ได้

🔹 หากอาการมากขึ้น อาจมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย

สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง

👉🏻  ได้รับแรงกระทำสั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน เช่น การนอนหรือนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง การบิดหลังบ่อยๆ

👉🏻  น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้กระดูกสันหลังล่างรับน้ำหนักเยอะตลอดเวลา

👉🏻  แบกของหนักเป็นประจำ

👉🏻  ใช้งานร่างกายผิดท่า เช่น ก้มลงเก็บของบ่อยๆ การเอี้ยวตัวแรงๆ

👉🏻  สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม

👉🏻  ขาดการออกกำลังกาย

👉🏻 อายุที่มากขึ้นและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

👉🏻 อุบัติเหตุต่างๆ เช่น การกระโดด การตกจากที่สูง การโดนกระชากแรงๆ

การรักษาทางแพทย์แผนจีน

🔸 การฝังเข็มร่วมกับการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น

🔸 การครอบแก้ว

🔸 การนวดทุยหนา

🔸 การแปะหู

🔸 การใช้ยาจีนร่วมกับการรักษา

การฝังเข็มและครอบแก้ว ช่วยได้อย่างไร ?

🔹 ลดอาการปวดและลดการอับเสบ

🔹 กระตุ้นการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อ

🔹 ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

🔹 กระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่งค้าง

🔹 กระตุ้นภาวะการสร้างมวลกระดูกให้สมดุล

การป้องกัน

✅ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น อย่านั่งนานจนเกินไป เลี่ยงการก้มเงยบ่อย ๆ หรือเลี่ยงการยกของหนัก

✅ ออกกำลังกายเป็นประจำ เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง

✅ ฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

บทความโดย

พจ.1224 แพทย์จีน มินตรา ไชยศรี

บทความอื่น ๆ