รองช้ำ หรือ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
อาการเจ็บที่บริเวณส้นเท้า อุ้งเท้าด้านใน หรือลามไปทั่วฝ่าเท้า
เริ่มแรกอาจมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ และอาการเจ็บปวดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงปวดรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อลงน้ำหนักที่ส้นเท้า และชัดเจนสุดในก้าวแรกของการลงน้ำหนัก เช่น ก้าวแรกตอนลงจากเตียง อาการเจ็บอาจดีขึ้นได้ระหว่างวันและเป็นหนักอีกครั้งตอนช่วงเย็นหลังจากผ่านการใช้งานมาพอสมควร
ผู้เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง
🔹 ผู้ที่มีอายุ 40ปี ขึ้นไป เนื่องจากฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
🔹 ผู้ที่ต้องยืน เดิน หรือวิ่งเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าตึง
🔹 ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ ทำให้พังผืดฝ่าเท้า ส้นเท้าต้องแบกรับน้ำหนักเยอะตามไปด้วย
🔹 ผู้ที่ความผิดปกติทางโครงสร้างของเท้า เช่น ผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนหรือโก่งมากเกินไป
บางคนอาจมีกระดูกงอกที่ส้นเท้า เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวด และสามารถเป็นได้ในคนที่มีอายุน้อยด้วย
🔹 ผู้ที่สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสม (ไม่ควรใส่รองเท้าที่แข็งหรือบางจนเกินไป รองเท้าควรมีส่วนรับน้ำหนักบริเวณอุ้งเท้าด้วย) เป็นต้น
การฝังเข็มช่วยลดอาการปวดจากรองช้ำ
ช่วยคลายความตึงของฝ่าเท้าและคลายกล้ามเนื้อน่อง
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดบริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้าได้ อย่างไรก็ตามรองช้ำเป็นอาการที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม ฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องและฝ่าเท้าเป็นประจำเพื่อที่จะไม่ให้อาการปวดกลับมา อย่าลืมไปฝึกทำกันนะคะ 🙂
แพทย์จีน ชมชนก ศุภศจี (พจ.1135)