PNG-ตงเป่ย

ฝังเข็มรักษาโรค

WHO คอนเฟิร์ม ศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรคได้ถึง 7 ประเภท

ฝังเข็มเป็นหนึ่งวิธีในการรักษาโรคของศาสตร์แพทย์แผนจีนทั่วไป เข็มที่ใช้มีลักษณะบาง ขนาดเล็ก ปลายตันไม่มียา หรือสารเคมีที่ตัวเข็ม โดยแพทย์ใช้เข็มปักตามจุดต่าง ๆ บนเส้นลมปราณในร่างกาย แล้วคาเข็มทิ้งไว้ 20-30 นาที จึงทำการถอนเข็มออก อาจมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (ทางการแพทย์) ร่วมด้วย เพื่อเป็นการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ ปรับสมดุลร่างกาย และป้องกันโรค

โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มตามที่องค์การอนามัยโลก WHO ระบุไว้มีด้วยกันหลายโรค ในทางคลินิกโรคที่นิยมฝังเข็มรักษา ยกตัวอย่างเช่น

  • อาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่าง ๆ
  • อาการชา ตะคริว
  • ปวดศีรษะ ไมเกรน
  • ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ภาวะนอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
  • ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ปวดท้อง ท้องอืด กรดไหลย้อน ท้องผูก
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง
  • ลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน
  • ความงามใบหน้า ลดเลือนริ้วรอย สิว ฝ้า กระ ยกกระชับ

หลังจากฝังเข็มอาจมีอาการหนัก ตึง หรือหน่วงบริเวณที่ฝังเข็มได้ อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน และจะค่อย ๆ หายไปซึ่งเป็นอาการปกติของการฝังเข็ม คนไข้ไม่ต้องวิตกกังวล นอกจากการฝังเข็มสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสนิทขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ การฝังเข็มเป็นการรักษาจากภายใน จึงต้องใช้ระยะเวลา และความต่อเนื่องในการรักษา

แพทย์จีน ชมชนก ศุภศจี (พจ.1135)